วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคาดหวังของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1-3 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี

 Title

พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคาดหวังของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 1-3 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี
ADMINISTRATIVE BEHAVIOR OF SCHOOL ADMINISTRATORS AS EXPECTED BY TEACHERS IN BASIC EDUCATION SCHOOLS LEVEL 1-3 UNDER SUPHAN BURI EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE

Abstract: ความมุ่งหมายของการจัดการศึกษาได้เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นที่การให้การศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิต ชุมชน สังคมและประเทศเป็นสาคัญ ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ขึ้น ซึ่งมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารการประถมศึกษาใหม่ กล่าวคือได้มีการโอนโรงเรียนประถมศึกษาจากหลายหน่วยงานมาอยู่ในความรับผิดชอบของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจรับผิดชอบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีโรงเรียนในสังกัดทั้งสิ้น 30,228 โรงเรียน ในโรงเรียนจานวนนี้มีโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจานวนนักเรียนต่ากว่า 120 คนลงมา จานวน 10,735 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 35.53 ของจานวนโรงเรียนทั้งหมด โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จานวน 2,120 โรง (สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2548, หน้า 23) โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเหล่านี้ส่วนใหญ่มีปัญหา คือ โรงเรียนมีคุณภาพค่อนข้างต่าเมื่อเทียบกับโรงเรียนมัธยมศึกษา เนื่องจากขาดความพร้อมด้านปัจจัย เช่น สภาพครูไม่ครบชั้นเรียน ขาดวัสดุอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนและงบประมาณไม่เพียงพอในการบริหารจัดการ ทั้งนี้เนื่องจากข้อจากัดเกี่ยวกับเกณฑ์การจัดอัตรากาลังครูและข้อจากัดด้านงบประมาณภาครัฐ ภายใต้ข้อจากัดและสภาพปัญหาดังกล่าว สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้กาหนดนโยบายแนวทาง มาตรการดาเนินงานและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตลอดจนรูปแบบการดาเนินการ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลการปฏิบัติงานในพื้นที่อย่างจริงจัง 2 และความเชื่อที่ว่าถ้าได้มีการนานวัตกรรมทางการบริหารจัดการและการเรียนการสอนที่ถูกต้องเหมาะสมมาใช้ จะทาให้การ แก้ปัญหา และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาบรรลุตามเป้าหมายได้ ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่จะส่งเสริมให้โรงเรียนมีประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา คือ การพัฒนาครูผู้สอนให้มีประสิทธิภาพด้วยการบูรณาการการจัดการเรียนรู้ให้หลากหลายครอบคลุม ผู้บริหารโรงเรียนควรสร้างขวัญกาลังใจให้แก่ครูในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เนื่องจากโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาหลายแห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล กันดาล และมีข้อจากัดทั้งด้าน งบประมาณ บุคลากร สื่อวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน ซึ่งการบริหารจัดการศึกษาในยุคปัจจุบันผู้บริหารสถานศึกษาในฐานะผู้นาของสถานศึกษาที่มีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษาโดยตรง จะต้องเป็นผู้นาการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบและกระบวนการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งหมายถึงต้องมีการบริหารจัดการ ให้การส่งเสริมสนับสนุนให้ครูทุกคนสามารถจัดการศึกษา อบรมนักเรียนให้มีคุณภาพตามเป้าหมาย ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องแสดงพฤติกรรมในการที่จะจูงใจและสร้างขวัญกาลังใจให้แก่บุคลากรร่วมกันดาเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังที่ ผู้บริหารจะต้องใช้ความสามารถ ในการบริหารงานให้เป็นที่ประจักษ์ โดยการแสดงออกด้านพฤติกรรมความเป็นผู้นา มุ่งมั่น ตั้งใจ ด้วยการชักนาให้ครูและบุคลากรปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถอย่างแท้จริง
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: กาญจนบุรี
Email: tdc@kru.ac.th
Issued: 2552
Modified: 2554-08-26
Issued: 2554-08-26
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

MS Team