วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ภาวะผู้นำด้านการสอนของผู้บริหารโรงเรียนพฤติกรรมการบริหารทักษะด้านวิชาการของครูและสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่มีผลต่อคุณภาพของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต2

 นิกูล ประทีปพิชัย และศันสนีย์ จะสุวรรณ์ (2556). ภาวะผู้นำด้านการสอนของผู้บริหารโรงเรียนพฤติกรรมการบริหารทักษะด้านวิชาการของครูและสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่มีผลต่อคุณภาพของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 พฤศจิกายน 2555 – มีนาคม 2556, หน้า 216-228.


บทคัดยอ

เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำและอิทธิพลของภาวะผู้นำด้านการสอนของผู้บริหารโรงเรียน พฤติกรรมการบริหาร ทักษะด้านวิชาการของครู และสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่มีผลต่อคุณภาพของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามครูชั้นประถมศึกษาปีที่1 - 6 จำนวน 598 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม สำเร็จรูปในการหาค่าสถิติพื้นฐาน และโปรแกรม LISREL ในการสร้างและตรวจสอบแบบจำลองสมการโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกผู้บริหารโรงเรียนดีเด่น และครูวิชาการโรงเรียนซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถด้านการจัดการเรียนการสอน ในโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ โรงเรียนละ 3 คน รวมขนาดโรงเรียนละ 6 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 18 คนวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำด้านการสอนของผู้บริหารโรงเรียน ที่ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรการนิเทศภายในโรงเรียน การส่งเสริมพัฒนาการสอนของครู อยู่ในระดับปานกลาง และสมรรถนะในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน อยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหาร ที่ประกอบด้วย ด้านการติดต่อสื่อสาร แรงจูงใจผู้อื่น และวิสัยทัศน์ พบว่า อยู่ในระดับมาก ทักษะด้านวิชาการของครู ที่ประกอบด้วย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การวัดและประเมินผลและพฤติกรรมการสอน พบว่า การวัดและประเมินผลและพฤติกรรมการสอน อยู่ในระดับมาก ส่วนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครู อยู่ในระดับปานกลาง สภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของครู บรรยากาศโรงเรียน และบรรยากาศในชั้นเรียน พบว่า อยู่ในระดับมาก คุณภาพของโรงเรียนที่ประกอบด้วย ประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน พบว่า ประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน และความพึงพอใจในการปฏิบัติของครู อยู่ในระดับมาก ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน พบว่า ส่วนใหญ่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติเกือบทุกกลุ่มสาระวิชา แบบจำลองสมการโครงสร้าง มีค่าดัชนีความกลมกลืนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ดีและสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจาก ค่า Chi- Square = 136.08, df = 82, GFI = 0.95 , AGFI = 0.92, RMR = 0.016, RMSEA =0.046 และ CFI = 0.99 นอกจากนี้ ยังพบว่า พฤติกรรมการบริหาร ส่งผลทางตรงต่อคุณภาพของโรงเรียนมากที่สุด รองลงมาคือสภาพแวดล้อมในโรงเรียน และภาวะผู้นำด้านการสอนของผู้บริหารโรงเรียน ส่วนภาวะผู้นำด้านการสอนของผู้บริหารโรงเรียน มีความสัมพันธ์ในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับทักษะด้านวิชาการของครู แต่ส่งผลในเชิงบวกต่อคุณภาพของโรงเรียนและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

MS Team