วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

workshop 4

         เรื่องที่ 1

 สุดาลักษณ์ บุปผาดา และคณะ (2558). ยุทธศาสตร์การบริหารโรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารรบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ปีที่ 12 ฉบับที่ 57 เมษายน – มิถุนายน 2558, หน้า 111-122.

 บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การบริหารโรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีการดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 27 โรงเรียน โดยมีผู้บริหารเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญรวม 27 คน 2) สร้างยุทธศาสตร์การบริหารโรงเรียนเป็นฐาน ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยร่างยุทธศาสตร์ตามข้อมูลที่ได้ใน ขั้นตอนที่ 1 และดำเนินการปรับปรุงร่างยุทธศาสตร์ โดยการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาประชุมสัมมนา จำนวน 21 คน เพื่อวิพากย์และให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงร่างยุทธศาสตร์ 3) ประเมินยุทธศาสตร์การบริหารโรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยนำเสนอยุทธศาสตร์ฉบับปรับปรุงต่อผู้ทรงคุณวุฒิ โดยการจัดประชุมสัมมนาอิงผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 30 คน เพื่อประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ ของยุทธศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเพื่อการวิจัย แบบประเมินความสอดคล้องเชิงเนื้อหา ของแบบสอบถามเพื่อการวิจัยและแบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ วิเคราะห์ข้อมูล โดย ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารโรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ด้านการกระจายอำนาจ ด้านการบริหารจัดการตนเองด้านการสร้างเครือข่าย และด้านความรับผิดชอบ โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยรวมเน้นการมีอำนาจตัดสินใจในการนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีแบบแผน มีขั้นตอนในการดำเนินงานชัดเจน มีอิสระในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนของตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สามารถบริหารจัดการโรงเรียนโดยมุ่งเน้นประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง จัดให้บุคลากรทุกฝ่ายร่วมกันรับผิดชอบการดำเนินงานของโรงเรียน มีระบบประกันคุณภาพภายในที่พร้อมรับการประเมินภายนอก ปัญหาส่วนใหญ่ พบว่า ผู้บริหารยังไม่กระจายอำนาจการตัดสินใจไปยังครูทุกระดับในโรงเรียน การขาดแคลนงบประมาณ ครูและบุคลากรมีจำนวนน้อยและมีภาระงานมาก ครูย้ายบ่อยทำให้งานที่มอบหมายและรับผิดชอบไม่ต่อเนื่อง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษาน้อย โดยมีแนวทางพัฒนาดังนี้ สร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและมอบอำนาจการตัดสินใจให้กับครูทุกระดับในโรงเรียน การระดมทรัพยากร การสร้างความตระหนักด้านความรับผิดชอบ ให้กับครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน รวมทั้งการสร้างเครือข่ายการศึกษา เช่น โรงเรียนคู่พัฒนาและปราชญ์ชาวบ้าน 2. ผลการสร้างยุทธศาสตร์การบริหารโรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก มี 4 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ด้านการกระจายอำนาจ ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการตนเอง ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างเครือข่าย และ ยุทธศาสตร์ด้านความรับผิดชอบ ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ ยุทธศาสตร์ด้านการกระจายอำนาจ มี 10 มาตรการ โดยเน้นมาตรการออกแบบโครงสร้างการบริหารงานที่มีความคล่องตัว ไม่ซับซ้อน ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำและเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง และการมอบอำนาจการตัดสินใจเป็นลำดับชั้น ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการตนเอง มี 10 มาตรการ โดยเน้นมาตรการ พัฒนาบุคลากรให้มีความเป็นมืออาชีพ มีระบบสารสนเทศชัดเจนเป็นปัจจุบัน และมีหลักสูตรที่หลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างเครือข่าย มี 13 มาตรการ โดยเน้นมาตรการ การสำรวจ สภาพความต้องการในการจัดการศึกษา สร้างความตระหนักด้านการศึกษาให้กับผู้ปกครอง และประสานความร่วมมือกับ องค์กรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ เพื่อจัดการศึกษาที่ทันสมัย และยุทธศาสตร์ด้านความรับผิดชอบ มี 10 มาตรการ โดยเน้นมาตรการ การพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การ จัดระบบการทำงานที่ชัดเจนสามารถตรวจสอบได้เพื่อสร้างความศรัทธาให้กับชุมชน และการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ในสถานศึกษา โดยจัดกิจกรรมให้ครูและบุคลากรได้ปฏิบัติร่วมกัน และคู่มือการใช้ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย บทนำ องค์ประกอบของยุทธศาสตร์ แนวทางการนำยุทธศาสตร์ไปใช้ และบทสรุป 3. ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของยุทธศาสตร์การบริหารโรงเรียน เป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ด้าน มี ความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก

เรื่องที่ 2

รับขวัญ ภูษาแก้วและคณะ (2559). กลยุทธ์การบริหารคนเก่งและองค์การสมรรถนะสูงสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปีที่ 44 ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม 2559, หน้า 115-130

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารคนเก่งและองค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของการบริหารคนเก่งและองค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษา 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารคนเก่งและองค์การสมรรถนะสูงสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 350 โรงเรียน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและเทคนิค PNImodified

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารคนเก่งโรงเรียนมัธยมศึกษามีค่าเฉลี่ยในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และสภาพปัจจุบันของการบริหารองค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษามีค่าเฉลี่ยในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) จุดแข็งของการบริหารคนเก่ง ได้แก่ การกำหนดค่านิยมและกลยุทธ์องค์การ จุดอ่อน ได้แก่ การค้นหาคนเก่ง การพัฒนาคนเก่ง การสร้างวัฒนธรรมส่งเสริมคนเก่ง และการบริหารคนเก่งเชิงบูรณาการทั่วทั้งองค์การ ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอก นโยบายของรัฐ สภาพเศรษฐกิจ สภาพสังคมและความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของประเทศเป็นภาวะคุกคาม จุดแข็งของการบริหารองค์การสมรรถนะสูง ได้แก่คุณภาพการบริหาร ความเปิดเผยและมุ่งเน้นการปฏิบัติ และทิศทางระยะยาว จุดอ่อนได้แก่ การปรับปรุงและการทำใหม่อยู่ตลอด และคุณภาพบุคลากร ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอก นโยบายของรัฐและความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของประเทศเป็นโอกาส สภาพเศรษฐกิจและสภาพสังคมของประเทศเป็นภาวะคุกคาม 3) กลยุทธ์การบริหารคนเก่งสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย (1) ยึดมั่นในค่านิยมและกลยุทธ์ของการบริหารคนเก่ง (2) แสวงหาวิธีการเชิงรุกในการค้นหาคนเก่ง (3) ยกระดับขีดความสามารถของคนเก่ง (4) สร้างความเข้มแข็งของวัฒนธรรมส่งเสริมคนเก่ง และ (5) บริหารคนเก่งเชิงบูรณาการ กลยุทธ์การบริหารองค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย (1) ยกระดับคุณภาพการบริหาร (2) มุ่งพัฒนาการปฏิบัติงาน (3) มุ่งผลงานระยะยาว (4) พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง และ (5) ยกระดับคุณภาพครูและบุคลากร


เรื่องที่ 3 

ประภาภัทร์ แสงทอง และเอกชัย กี่สุขพันธ์ (2558). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 . วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2557, หน้า 679-692.

 บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต  จำนวน 5 โรงเรียนกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารจำนวน 55 คน ครูผู้ปฏิบัติการสอนจำนวน 229 คน รวมทั้งสิ้น 284 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม  จำนวน 284 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ               

ผลการวิจัยพบว่า 1) การวางแผนงานด้านวิชาการ คณะกรรมการประกอบด้วยหัวหน้ากลุ่มสาระมากที่สุด  ผู้อนุมัติ คือ ผู้อำนวยการ มีการวางแผนงานโดยกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย เป้าหมาย มีการเผยแพร่ในที่ประชุมครู มีวิธีการตรวจสอบและประเมินผลโดยรายงานตามสายการบังคับบัญชามากที่สุด 2) การบริหารและพัฒนาหลักสูตร กรรมการคือรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการมากที่สุด ดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อวางแผนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ประเมินผลจากผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ปรับปรุงพัฒนาด้วยการนำผล O-NET มาเป็นแนวทางมากที่สุด 3) การจัดการเรียนการสอน จัดครูรับผิดชอบงานสอนตามวุฒิการศึกษา กำหนดการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ จัดวิชาเปิดสอนตามโครงสร้างหลักสูตร  จัดทำแผนการสอนโดยผู้ปฏิบัติการสอนในระดับชั้นและกลุ่มสาระเดียวกัน ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติโดยการนิเทศการสอน สอนซ่อมเสริมโดยประเมินผลสัมฤทธิ์ของการสอบกลางเทอมมากที่สุด 4) การนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาครู ครูเป็นผู้รับการนิเทศ โดยโรงเรียนจัดให้มีการประชุม อบรม สัมมนาก่อนเปิดภาคเรียน ผู้นิเทศครู คือหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้มากที่สุด 5) การใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พัฒนาให้มีความหลากหลายโดยครู ใช้วิธีการประเมินผลจากความเข้าใจในเนื้อหาของผู้เรียน มากที่สุด 6) การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร จัดตามนโยบายของโรงเรียน และมีการประเมินผลหลังทำกิจกรรมมากที่สุด 7) การแนะแนว มีห้องแนะแนว และติดตามประเมินผลการแนะแนวด้วยแบบสอบถามมากที่สุด 8) การร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น มีการประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนและร่วมมือกับกลุ่มโรงเรียนที่สังกัดอยู่มากที่สุด 9) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพงานวิชาการ ส่งเสริมการทำวิจัย ให้การวิจัยในชั้นเรียนเป็นนโยบายที่สำคัญ และนำไปใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้มากที่สุด 10) การวัดและประเมินผลงานวิชาการ วัดผลประเมินผลจากสภาพจริง และนำผลที่ได้ไปใช้เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนของครูมากที่สุด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

MS Team